อวัยวะที่สำคัญของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย
1. รังไข่ (Ovary) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2 – 3
เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2 – 3 กรัม และมี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้าง ทำหน้าที่ดังนี้
1.1 ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง
โดยปรกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน
และออกจากไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่
ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปรกติจะมีการผิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือเริ่มตั้งแต่อายุ 12
ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง
1.2
ร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่
1) เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากฟอลลิเคิล ทำหน้ามี่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก
ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก
ตะโพกผาย หน้าอกและอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น
2)
โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากคอร์ปัส ลูเทียม ทำงานร่วมกับเอสโตรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก
การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว
![]()
รูปที่ 8.3 แสดงอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
|
2.
ท่อนำไข่ (Oviduct) หรือ ปีกมดลูก (Fallopian) เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก
ภายในกลวง มีเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดปรกติเท่ากับเข็มถักไหมพรหม ยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
โดยมีปลายข้างหนึ่งอยู่ใกล้กับรังไข่เรียกว่า ปากแตร (Funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ
ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกลงมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่
ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
3.
มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่
หรือรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลง กว้างประมาณ 4
เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ภายในกระดูกเชิงกราน
ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ภายในเป็นโพรง
ทำหน้าที่เป็นที่ผังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว
และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.
ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด
และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาด้วย
การตกไข่ (Ovulation) คือการที่ไข่สุกและออกจากรังไข่ผ่านสู่ท่อนำไข่ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน
ถ้านับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 13 – 15
การมีประจำเดือน (Menstruation) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่แสดงให้ทราบว่าเด็กหญิงนั้นได้เจริญเต็มที่พร้อมที่จะมีลูกได้
![]()
รูปที่ 8.4 แสดงระยะการมีประจำเดือน
|
การมีประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในมดลูกในรอบเดือน
โดยภายในรังไข่แต่ละข้างจะมีไข่อ่อนที่ยังไม่เจริญเต็มที่อยู่มากมาย
ไข่อ่อนแต่ละใบจะมีฟอลลิเคิลหรือถุงไข่ (Follicle) หุ้มไว้ รังไข่จะผลิตไข่สลับข้างกันและผลิตเดือนละครั้ง
ครั้งละหนึ่งใบ ในการผลิตไข่แต่ละครั้งจะมีฟอลลิเคิลเจริญเติบโตมาหลายถุง
แต่จะมีเพียงถุงเดียวเท่านั้นที่ไข่อ่อนเจริญเต็มที่ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป
เมื่อไข่อ่อนเจริญเต็มที่จะหลุดออกจากรังไข่ลงสู่ช่องท้องที่เรียกว่า ตกไข่ เมื่อมีการตกไข่แล้วจะเกิดเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาแทนที่บริเวณที่มีการตกไข่
เรียกเนื้อเยื่อใหม่ว่า คอร์ปัส ลูเทียม (Corpus luteum) ขณะที่ฟอลลิเคิลกำลังเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างเอสโตรเจนไปกระตุ้นให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้นด้วย
เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้ว ซากฟอลลิเคิลซึ่งยังคงเหลืออยู่ในรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีก
ชนิดหนึ่งขึ้นมาคือ
โปรเจสเตอโรน ซึ่งจะทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว
หลังจากนั้นไข่จะเคลื่อนที่เข้าสู่ท่อนำไข่ลงสู่มดลูกตามลำดับ
ขณะที่อยู่ในท่อนำไข่ถ้ามีการผสมหรือการปฏิสนธิเกิดขึ้นระหว่างไข่กับตัวอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย
ไข่ที่ผสมแล้วจะเคลื่อนที่ลงไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและทารกต่อไปตามลำดับ
แต่ถ้าไม่มีการผสมเกิดขึ้นไข่จะฝ่อและสลายตัวไป
เยื่อผุผนังมดลูกจะเสื่อมและลอกหลุดจากผนังมดลูก
พร้อมทั้งมีเลือดไหลปนออกมาทางช่องคลอด ซึ่งเรียกว่า ประจำเดือน
หลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกแล้วก็จะมีครั้งต่อไปอีกทุกเดือน
โดยในรอบเดือนต่อไปเมื่อไข่ใบใหม่สุกและตกมาจากรังไข่
ถ้าไม่ได้รับการปฏิสนธิก็จะเกิดประจำเดือนเช่นเดียวกันอีก
โดยปรกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ
12 ปี ขึ้นไป และจะมีทุกเดือนไปจนถึงอายุประมาณ 50 ปี
รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนแตกต่างกันไปในแต่ละคนโดยทั่วไปประมาณ 28 วัน
(ระหว่าง 21 – 35 วัน) ช่วงระยะของการมีประจำเดือนแต่ละครั้งประมาณ 3 – 6 วัน ซึ่งร่างกายจะสูญเสียเลือดไปประมาณ 60 – 90 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง
ดังนั้นผู้หญิงจึงควรได้รับโปรตีนและธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเพื่อทดแทนส่วนที่สูญเสียไป
ในแต่ละเดือนประจำเดือนอาจจะมากหรือน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล
อารมณ์และความวิตกกังวลต่าง ๆ ก็มีผลให้การหลั่งฮอร์โมนของสมองใหญ่ผิดปรกติ
ซึ่งจะไปมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองทำให้รอบเดือนมาไม่ปรกติ
และในบางคนก่อนมีประจำเดือนหรือระหว่างมีประจำเดือนอาจมีอาการบางอย่างเกิดขึ้น
เช่น ปวดศีรษะ เมื่อล้า หงุดหงิด ปวดท้อง เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นอาการปรกติที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นอันตราย
แต่ถ้ามีอาการผิดปรกติเกิดขึ้น เช่น ประจำเดือนมาเร็วหรือช้าเกินไป
มีนานกว่าปรกติหรือมากกว่าปรกติ หรือไม่มีประจำเดือนเลย ควรไปพบแพทย์
นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่า
ทำไมผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์แล้วจึงไม่มีการตกไข่อีก สาเหตุที่เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์แล้วไม่มีการตกไข่อีก
เป็นเพราะว่าร่างกายมีกลไกปรับระดับฮอร์โมน โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้คือ
ในแต่ละเดือนฮอร์โมนFSH (Follicle
Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมใต้สมองจะทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่สุก
ขณะเดียวกันฟอลลิเคิลก็จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นและส่งออกสู่กระแสเลือด
ฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้ผนังมดลูกสร้างเยื่อบุเตรียมรับไข่ที่ได้รับการผสม ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมามีผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมใต้สมองออกมา
ทำให้เกิดการตกไข่ขณะเดียวกันฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจำทำงานร่วมกัน
เพื่อสร้างเยื่อบุผนังมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ได้รับการผสม
ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม
ระดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดลง และ FSH จะเพิ่มขึ้นทำให้ไข่สุกอีกครั้งเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป
แต่ถ้าไข่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวที่ผนังมดลูกระดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะยังสูง ด้วยเหตุนี้หญิงมีครรภ์จึงไม่มีการตกไข่อีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น